หัวข้อ   “ กรุงเทพโพลล์ร่วมปฏิรูปประเทศไทย :ปฏิรูปสื่อเพื่อลดความขัดแย้ง
ประชาชน 78.5 % สนับสนุนการปฏิรูปสื่อมวลชน
74.5 % เห็นว่า สื่อเชื่อถือไม่ค่อยได้ เพราะไม่ได้นำเสนอความจริงทั้งหมด
64.8 % บอกสื่อไม่เป็นอิสระ ถูกครอบงำ และซื้อได้ถ้าหยิบยื่นให้
89.9% เห็นควรมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อฯ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตระหนักและให้ความสำคัญ
กับการปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ด้วยการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นต่างๆ ที่จะทำการปฏิรูป ซึ่ง
การสำรวจครั้งนี้เป็นการสะท้อนความเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชน
ภายใต้หัวข้อ“กรุงเทพโพลล์ร่วมปฏิรูปประเทศไทย :ปฏิรูปสื่อเพื่อลดความขัดแย้ง”
โดยสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,088 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 91.8 ติดตามข่าวจากทีวี รองลงมา
ร้อยละ 35.0 ติดตามข่าวจากโซเชียลมีเดีย เช่น facebook twitter และร้อยละ 34.7
ติตามจากเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนต้องคิดพิจารณาก่อนที่จะ
ตัดสินใจเชื่อข่าวนั้นๆ มากที่สุดคือ ข่าวจากทีวี (ร้อยละ 55.1)
รองลงมาคือข่าวจาก
โซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 47.9) และ ข่าวจากจากเว็บไซต์ต่างๆ (ร้อยละ 33.0)
 
                 ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 86.6 มีความเห็นว่าการนำเสนอข่าว
ของสื่อมวลชนในปัจจุบันมีอิทธิพลมากถึงมากที่สุดต่อการชี้นำทางความคิดของ
ประชาชน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 10.5 เท่านั้นที่เห็นว่ามีอิทธิพลน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือ
ร้อยละ 2.9 ไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามถึงความเป็นอิสระของสื่อมวลชนจากนายทุนหรือนักการเมืองในการนำเสนอข่าว ประชาชนร้อยละ
64.8 เห็นว่าสื่อไม่เป็นอิสระ ถูกครอบงำ และซื้อได้ถ้าหยิบยื่นให้
ขณะที่ร้อยละ 26.2 เห็นว่า สื่อเป็นอิสระ
ไม่ถูกครอบงำ และซื้อไม่ได้ ที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
                  นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.5 เห็นว่า ข่าวที่สื่อนำมาเสนอเชื่อถือไม่ค่อยได้
เพราะไม่ได้นำเสนอความจริงทั้งหมด
รองลงมาร้อยละ 20.7 เห็นว่าเชื่อถือได้ ตรงตามข้อเท็จจริง และร้อยละ 2.2
เห็นว่าสื่อเชื่อถือไม่ได้เลย เพราะข้อมูลไม่เป็นความจริง สร้างข่าวขึ้นมาเอง ที่เหลือร้อยละ 2.6 ไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวการเมืองของสื่อมวลชน ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.4
ระบุว่าสื่อไม่ค่อยเป็นกลาง
รองลงมาร้อยละ 30.2 ระบุว่าเป็นกลาง และร้อยละ 10.0 ระบุว่าไม่เป็นกลางเลย ที่เหลือ
ร้อยละ 5.4 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามถึงการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้ สื่อมวลชนจำเป็นต้องถูกปฏิรูปด้วยหรือไม่ พบว่าประชาชนมากถึง
ร้อยละ 78.5 ระบุว่าจำเป็นต้องปฏิรูปสื่อด้วย
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.4 ที่ระบุว่าไม่จำเป็นต้องปฏิรูปสื่อ และที่เหลือ
ร้อยละ 5.1 ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าสื่อมวลชนในประเทศไทยควรมีการสอบใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชน เหมือนวิชาชีพอื่นๆ
เช่น แพทย์ ทนายความ หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 89.9 เห็นว่าควรมีการสอบใบอนุญาต ขณะที่มีเพียง
ร้อยละ 6.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ไม่ควรมีการสอบ และที่เหลือร้อยละ 3.2 ไม่แน่ใจ
 
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ช่องทางที่ประชาชนติดตามข่าวสารเป็นประจำ

 
ร้อยละ
ทีวี
91.8
โซเชียลมีเดีย เช่น facebook twitter ฯลฯ
35.0
อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ต่างๆ
34.7
หนังสือพิมพ์
31.8
วิทยุ
18.4
 
 
             2. การรับข้อมูลข่าวสารช่องทางใดที่ต้องคิดพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อข่าวนั้นๆ มากที่สุด
                 (พิจารณาในแต่ละช่องทางที่รับชม)

 
ร้อยละ
ทีวี
55.1
โซเชียลมีเดีย เช่น facebook twitter ฯลฯ
47.9
อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ต่างๆ
33.0
หนังสือพิมพ์
17.8
วิทยุ
10.3
ไม่มี
1.6
 
 
             3. ความเห็นต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในปัจจุบันว่ามีอิทธิพลหรือส่งผลต่อการชี้นำทางความคิด
                ของคนในสังคมมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
มีอิทธิพลมากที่สุด
22.4
มีอิทธิพลมาก
64.2
มีอิทธิพลน้อย
9.2
มีอิทธิพลน้อยที่สุด
1.3
ไม่แน่ใจ
2.9
 
 
             4. ความเห็นต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในภาพรวมว่ามีความเป็นอิสระจากนายทุน
                 หรือนักการเมืองมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
สื่อเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำ และซื้อไม่ได้
26.2
สื่อไม่เป็นอิสระ ถูกครอบงำ และซื้อได้ถ้าหยิบยื่นให้
64.8
ไม่แน่ใจ
9.0
 
 
             5. ความเห็นต่อความน่าเชื่อถือของข่าวที่สื่อมวลชนนำมาเสนอในภาพรวม

 
ร้อยละ
เชื่อถือได้ ตรงตามข้อเท็จจริง
20.7
เชื่อถือไม่ค่อยได้ เพราะไม่ได้นำเสนอความจริงทั้งหมด
74.5
เชื่อถือไม่ได้เลย เพราะข้อมูลไม่เป็นความจริง สร้างข่าวขึ้นมาเอง
2.2
ไม่แน่ใจ
2.6
 
 
             6. ความเห็นต่อความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวการเมืองของสื่อมวลชนในภาพรวม

 
ร้อยละ
เป็นกลาง
30.2
ไม่ค่อยเป็นกลาง
54.4
ไม่เป็นกลางเลย
10.0
ไม่แน่ใจ
5.4
 
 
             7. ความเห็นต่อการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้ สื่อมวลชนจำเป็นต้องถูกปฏิรูปด้วยหรือไม่

 
ร้อยละ
จำเป็นต้องปฏิรูปสื่อด้วย
78.5
ไม่จำเป็นต้องปฏิรูปสื่อ
16.4
ไม่แน่ใจ
5.1
 
 
             8. เมื่อถามว่าสื่อมวลชนในประเทศไทยควรมีการสอบใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชน และถูกเพิกถอน
                 เมื่อทำผิด เหมือนวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ ทนายความ หรือไม่

 
ร้อยละ
ควร
89.9
ไม่ควร
6.9
ไม่แน่ใจ
3.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับช่องทางการรับชมข่าวสารของประชาชน การนำเสนอข่าว
ของสื่อมวลชนในปัจจุบัน อิทธิพลต่อการชี้นำทางความคิดของการนำเสนอข่าว ความน่าเชื่อถือและความเป็นกลาง
ในการนำเสนอข่าวการเมือง รวมถึงความจำเป็นในการปฏิรูปสื่อ เพื่อสะท้อนมุมมองของประชาชนให้สังคมและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 15 – 16 ตุลาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 18 ตุลาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
558
51.2
             หญิง
530
48.8
รวม
1,088
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
172
15.8
             31 – 40 ปี
300
27.6
             41 – 50 ปี
288
26.4
             51 – 60 ปี
225
20.7
             61 ปีขึ้นไป
103
9.5
รวม
1,088
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
645
59.3
             ปริญญาตรี
348
32.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
8.7
รวม
1,088
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
184
16.9
             ลูกจ้างเอกชน
283
26.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
379
34.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
69
6.4
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
120
11.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
37
3.4
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
12
1.0
รวม
1,088
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776